จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
EN TH

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ปรัชญาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ปรัชญาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตมีจุดประสงค์ในการพัฒนาและส่งเสริมบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการบริหารงานภาครัฐและนโยบายสาธารณะ และมีทักษะที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานภายในองค์กรของตนเองได้ และสามารถมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จุดประสงค์นี้มีพื้นฐานมาจากปรัชญา MPA CU ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ซึ่งระบุไว้ในเอกสารรายละเอียดของหลักสูตร โดยแต่ละตัวอักษรนั้นสื่อความหมายหมายว่า “Multidisciplinary-oriented (เน้นความเป็นสหสาขา)”, “Practicality-driven (มุ่งนำหลักวิชาการสู่การขับเคลื่อนภาคปฏิบัติ)”, “Academic excellence (เป็นเลิศทางวิชาการ)”, “Citizenship promotion (เสริมสร้างความเป็นพลเมือง)”, and “Universal standards (รักษามาตรฐานระดับสากล)”

วิสัยทัศน์


ผู้นำที่มีศักยภาพ ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และคำนึงถึงสาธารณะ

พันธกิจ


1 เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณภาพสูง และมีความเป็นเลิศทางวิชาการสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่ฮองค์การ ชุมชน สังคม และประเทศได้
2 เพื่อให้มหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพที่จะเป็นผู้นำสังคมในการกำหนดนโยบาย การบริหารสาธารณะ
3 เพื่อนำความรู้ไปแก้ไข และป้องกันปัญหาสาธารณะ รวมทั้งพัฒนาภาครัฐ เพื่อให้บริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ของส่วนรวม

ค่านิยมหลักสูตร


M

Multidisciplinary Oriented

เน้นความเป็นสหสาขาวิชาชีพ

P

Practicality Driven

มุ่งนำหลักวิชาการสู่การขับเคลื่อนภาคปฏิบัติ

A

Academic Mastery

เป็นเลิศทางวิชาการ

C

Citizenship Promotion

เสริมสร้างความเป็นพลเมือง

U

Universal Standard

รักษามาตรฐานระดับสากล

วัตถุประสงค์


1 เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางรัฐประศาสน-ศาสตร์ที่มีคุณภาพสูง และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ ชุมชน สังคม และประเทศได้
2 เพื่อให้มหาบัณฑิตทางรัฐประศาสน-ศาสตร์มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพที่จะเป็นผู้นำสังคมในการกำหนดนโยบาย การบริหารสาธารณะ
3 เพื่อนำความรู้ไปแก้ไข และป้องกันปัญหาสาธารณะ รวมทั้งพัฒนาภาครัฐ
4 เพื่อให้บริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ของส่วนรวม
5 To perform public service for the public interest