จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
EN TH

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ประวัติ


ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกาเนิดจากโรงเรียนฝึกหัด วิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมหาราชวังเมื่อ พ.ศ.2442 [ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ดังนั้น พ.ศ. กับ ค.ศ.ก่อนหน้านี้จึงเหลื่อมกันอยู่ 1 ปี] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ.2445 ทั้งนี้ เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วอันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบ บริหารราชการแผ่นดินเมื่อพ.ศ.2425ต่อมาทั้งภาคราชการและเอกชนต้องการบุคลากรทางานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระอนุสรณ์คานึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ "ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสาหรับเป็นสถาบันอุดม ศึกษาของชาวสยาม"
พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดาเนิน ไปได้ดีในระดับหนึ่งแล้วสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า"โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อ 1 มกราคม 2459


ต่อมาทรงเห็นว่าควรขยายกิจการให้กว้างขวางตามพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่และถาวรในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชพระองค์จึงได้ พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุ สาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าจานวนเก้าแสนกว่าบาทให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและ เป็นตึกบัญชาการบนที่ดินของพระคลังข้างที่จานวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อาเภอปทุมวัน และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการ ของโรงเรียนต่อไปทั้งนี้ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ.2458


ในครั้งนั้นมีการเปิดสอน 8 แผนกวิชา ได้แก่ การปกครอง กฎหมาย การฑูต การคลัง การแพทย์ การช่าง การเกษตร และวิชาครู จัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) คือโรงเรียนรัฏฐประศาสน-ศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังโรงเรียนฝึกหัด อาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาโรงเรียนราชแพทยาลัย ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชโรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และโรงเรียนยันตรศึกษาตั้งที่วังใหม่หรือวังกลางทุ่งหรือวังวินเซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดาริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสาหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ.2459 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาล และมิรู้เสื่อมสูญ


จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยในระหว่าง พ.ศ.2459 ถึง พ.ศ.2465 มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร และการเตรียมการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญา มีการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ เพื่อให้ช่วยเหลือการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ จากนั้นระหว่าง พ.ศ.2466 - 2480 เริ่มรับผู้สาเร็จหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ ขณะเดียว กันก็ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและรับนักเรียนผู้จบประโยคมัธยมบริบูรณ์เข้า เรียนอีก 4 คณะ และในระหว่างปี พ.ศ.2481 - 2490 เริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดเตรียมมหาวิทยาลัยคือนักเรียนจะต้องเลือกเรียนตามคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนทาให้มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยขึ้น


หลังจากนั้น ในช่วงระหว่าง พ.ศ.2491 - 2503 เป็นระยะเวลาของการขยายการจัดการศึกษาออกไปในศาสตร์และศิลปวิทยาการต่างๆ โดยเน้นระดับปริญญาตรีเป็นหลัก และตั้งแต่ พ.ศ. 2504 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของการขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น และ เริ่มพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์และสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมและการบริการทางวิชาการให้แก่สังคมมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยสถาบันบริการ และศูนย์ เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาตนเอง ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทาได้ทุกวิถีทางให้สมกับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราชของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2442 (ร.ศ. 118) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ขึ้น โดยพระราชทานนามว่า “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน” โดยรับสมัครนักเรียนที่สอบผ่าน “ประโยคนักเรียน” มาแล้ว เข้าศึกษา “ประโยควิชา” ต่อ เมื่อเรียนจบ “ประโยควิชา” แล้วจึงจะได้รับประกาศนียบัตรของโรงเรียน แล้วต้องออกฝึกราชการตามกระทรวงต่างๆ เพื่อสอบ “ประโยคฝึกหัด” ในขั้นสุดท้ายจึงจะถือว่านักเรียนผู้นั้นสำเร็จวิชาจากสถานศึกษาข้าราชการพลเรือนโดยสมบูรณ์ โรงเรียนดังกล่าวนี้ได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นักเรียนในโรงเรียนนี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก มีตำแหน่งเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยใกล้ชิดและเข้าที่สมาคมในราชการให้มีความคุ้นเคยอีกด้วย


ในปี พ.ศ. 2445 (ร.ศ.121) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนนามโรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” ซึ่งทรงพระราชดำริเห็นว่า นักเรียนโรงเรียนนี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กทั้งสิ้น และตามประเพณีอันมีมาแต่โบราณข้าราชการ โดยมากยอมถวายตัวศึกษาราชการในกรมมหาดเล็กก่อนที่จะไปรับราชการในกรมอื่น จึงควรให้มีนามโรงเรียนสมแก่นักเรียนที่ได้เป็นมหาดเล็ก


ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 (ร.ศ. 129) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าการที่จะฝึกนักเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กให้ออกมารับราชการในกระทรวงมหาดไทยแต่กระทรวงเดียวนั้น ไม่เพียงพอควรที่จะขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อส่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปรับราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม และเพื่อเป็นอนุสาวรีย์เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมชนกาธิราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินให้เป็นทุนสำหรับจัดการโรงเรียนต่อไป และทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนพระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” หนึ่งปีต่อมา ในวันที่ 26 มีนาคม 2459 ได้มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเมื่อแรกตั้งได้ แบ่งออกเป็น 4 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนในด้านการศึกษายังเป็นไปในรูปเดิม นอกจากตำแหน่งผู้บังคับบัญชาโรงเรียนซึ่งแต่เดิมเรียกชื่อว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนนั้น ได้เปลี่ยนมาใช้นามว่า คณบดี หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ความนิยมในการเข้าศึกษาในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ลดน้อยลง ในปีพ.ศ. 2472 มีนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่เพียง 35 คน เท่านั้น เนื่องจากผู้สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรออกไปนั้น เมื่อเข้ารับราชการจะได้ตำแหน่งเพียงชั้นราชบุรุษเท่านั้น ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 5 ก็มีสิทธิสอบเข้ารับราชการในตำแหน่งนี้ได้แล้ว ส่วนนักเรียนที่ศึกษาจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ นอกจากจะสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มาแล้ว ยังต้องศึกษาในคณะนี้อีกถึง 3 ปี ดังนั้น กระทรวงธรรมการจึงได้นำความทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระบรมราชานุญาตให้เลิกคณะนี้เสีย เมื่อนักเรียนที่เหลืออยู่สำเร็จหมดแล้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้มีพระบรมราชานุญาต


เมื่อกระทรวงธรรมการได้สั่งปฏิบัติการตามกระแสพระบรมราชโองการแล้ว ต่อมามีสมุหเทศาภิบาลและข้าราชการฝ่ายปกครองจำนวนมากมาร้องทุกข์ ว่าควรจะมีการสอนวิชานี้ กระทรวงมหาดไทยก็เห็นว่าจะขาดประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าขาดนักปกครองที่ผลิตจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ จึงได้มีการประชุมพิจารณาระหว่างคณะกรรมการดำริรูปการมหาวิทยาลัย ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยและผู้แทน ก.ร.พ. (กรรมการพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน) ที่ประชุมมีความเห็นพร้องกันว่าควรจะมีการสอนวิชานี้ต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาเสียใหม่และเปลี่ยนแปลงวิธีการรับนิสิตด้วย นอกจากนั้นได้เสนอความคิดเห็นให้เปลี่ยนชื่อคณะรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชานุญาตตามข้อเสนอ และให้ขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าแผนกคือ ผู้อำนวยการ ซึ่งมีฐานะเท่ากับคณบดี


ต่อมาเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยโอนโรงเรียนกฎหมายเข้าสมทบในคณะนิติศาสตร์ด้วยในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2476 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 ซึ่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติว่า “ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านี้มาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ ก่อนวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2477” คณะรัฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงถูกยุบไปช่วงหนึ่ง


ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารประเทศในอันที่จะได้ปฏิบัติราชการที่เพียบพร้อมไปด้วยบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในการปกครองและการบริหารให้มีจำนวนเพียงพอ จึงได้จัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยการตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 18 สิงหาคม 2491 หลังจากที่ได้ยุบเลิกไปเป็นเวลาถึง 15 ปีเศษ คณะรัฐศาสตร์ได้กลับมาผลิตบัณฑิต เพื่อรับใช้สังคมอีกครั้ง จนถึงทุกวันนี้

ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

“โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง ที่มา: หนังสือหนึ่งร้อยปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าเรื่องการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย ๑


ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์นับเป็นภาควิชาหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่และยาวนานที่สุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย หากหวนรำลึกถึงประวัติการณ์ของภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์จำเป็นต้องพิจารณาถึง “คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์” ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ คณะแรกแห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีวิวัฒนาการมาจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน”  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒  ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง โดยมีเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) เป็นอธิบดีโรงเรียน ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชปรารภที่จะทรงปฏิรูปการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันสมัย เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โรงเรียนที่ทรงจัดตั้งขึ้นนั้นจึงเป็นไปเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองในกระทรวงมหาดไทย และนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์  แต่ด้วยประเพณีโบราณมีอยู่ว่าข้าราชการจะต้องถวายตัวเข้ารับราชการ      เพื่อศึกษาลักษณะงานในกรมมหาดเล็กเสียก่อน จากนั้นจึงจะออกไปรับราชการตำแหน่งต่างๆ ในกรมอื่นได้ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๕ เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้ ฝึกอบรม ขัดเกลา ให้ผู้เรียนมีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อพร้อมที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและเป็นข้าราชการที่อุทิศตนให้เพื่อสนองพระคุณแผ่นดิน นอกจากนี้ยังเป็นรากฐานสำคัญของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไปในอนาคตซึ่งพระองค์ทรงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้เข้าเรียนโดยเสมอภาคกัน ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้อัญเชิญมาดังความตอนหนึ่งว่า


“…เมื่อได้กล่าวถึงโรงเรียนนี้ว่าจะเป็นการสงเคราะห์แต่ตระกูลเจ้านายดั่งนี้ ใช่ว่าจะลืมตระกูลข้าราชการและราษฎรเสียเมื่อไร โรงเรียนที่มีอยู่แล้วและที่จะตั้งขึ้นต่อไปภายหน้าโดยมาก ได้คิดจัดการโดยอุตสาห์เต็มกำลังที่จะให้เป็นการเรียบร้อยพร้อมเพรียงเหมือนอย่างโรงเรียนนี้ และจะคิดให้แพร่หลายกว้างขวางเป็นที่คนเรียนได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งจะมีโรงเรียนวิชาอย่างสูงขึ้นไปอีก ซึ่งได้กำลังคิดจัดอยู่บัดนี้ เจ้านายราชตระกูลตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นไปตลอดจนราษฎรที่ต่ำสุด จะได้มีโอกาสเล่าเรียนเสมอกัน    ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึงบอกไว้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญหนึ่งซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจนได้…”


เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธได้เสด็จขึ้นผ่านพิภพเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๖ แห่งพระราชวงศ์จักรี ได้สืบสานงานพระราชปณิธานต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชกรณียกิจแรกในด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการจัดการศึกษา เพื่อผลิตนักเรียนไปรับราชการในกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ไม่จำกัดเฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โดยใช้วังวินด์เซอร์เป็นสถานที่ประกอบการเรียนการสอน และสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ พร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริจัดตั้งขึ้น และได้ใช้เงินคงเหลือจากการที่ราษฎรเรี่ยไรกันเพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้า เป็นเงินจำนวน ๙๘๒,๖๗๒ บาท ๔๗ สตางค์มาใช้เป็นทุนของโรงเรียนแห่งนี้ ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑,๓๐๙ ไร่ เป็นพื้นที่โรงเรียน โดยทิศเหนือจดถนนสระประทุม ทิศใต้จดถนน       หัวลำโพง ทิศตะวันออกจดถนนสนามม้า ทิศตะวันตกจดคลองสวนหลวง และมีการจัดการศึกษาใน ๕ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา และโรงเรียนยันตรศึกษา


หลังจากดำเนินการเรียนการสอนมาได้ระยะหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจาก    ในยุคของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการศึกษาของชาวสยามถูกจำกัดไว้เฉพาะบุคคลผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการเท่านั้น แต่ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลแห่งสมเด็จพระมหา   ธีรราชเจ้า  จึงมีพระราชดำริสมควรขยายมณฑลแห่งการศึกษาไปสู่ประชาชนทุกชนชั้นที่ปรารถนาจะเข้าศึกษาวิชาชั้นสูงทำให้การขัดขวางทางการศึกษาแต่เดิมที่ถูกจำกัดไว้เฉพาะกลุ่มบุคคลได้ถูกขจัดสิ้นด้วย  พระปรีชาญาณอันกว้างไกลที่ทรงมองเห็นอนาคตแห่งการศึกษาของลูกหลานชาวสยาม พระองค์จึงทรง  พระกรุณาโปรดเกล้าฯ   ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๙ และพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็น   พระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จ     พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชชนกของพระองค์ นับแต่บัดนั้นจึงถือกำเนิด “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ในห้วงเวลานั้นการเรียนการสอนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแบ่งเป็น ๔ คณะคือ


๑. คณะแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนแพทยาลัย (ศิริราชพยาบาล) มีพระยาเวชสิทธิ์ ศรีภิลาส  (จรัส วิภาตแพทย์) เป็นคณบดี


๒. คณะรัฐประศาสนศาสตร์    ตั้งอยู่ที่ตึกบัญชาการหรือตึกสร้างใหม่ ถนนสนามม้า มีพระยาวิทยาปรีชามาตย์ (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นคณบดี


๓. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้ตึกเดียวกับคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มีพระยานิพัทธกุลพงศ์ (ชิน บุนนาค) เป็นคณบดี


๔. คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ที่วังกลางทุ่ง (ปัจจุบันอยู่ในเขตกรีฑาสถานแห่งชาติ)  มี ม.จ.พูนศรีเกษม เกษมศรี เป็นคณบดี


โดยคณะรัฐประศาสนศาสตร์ได้ทำหน้าที่ผลิตผู้สำเร็จการศึกษาไปรับราชการในกระทรวง กรมต่างๆเรื่อยมา จนกระทั่งปี พุทธศักราช ๒๔๗๒ คณะรัฐประศาสนศาสตร์เริ่มประสบกับปัญหาความตกต่ำและเสื่อมความนิยมลง เนื่องมาจากในปีนั้นได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์เข้ารับราชการในระดับตำแหน่งชั้นราชบุรุษซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ ๕ ก็สามารถสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการในตำแหน่งดังกล่าวได้ การที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์ รับผู้ที่จบชั้นมัธยมปีที่ ๖ เข้าศึกษาและต้องศึกษาต่ออีกถึง ๓ ปี จึงจะสามารถได้รับประกาศนียบัตร เพื่อไปสอบแข่งขันเข้ารับราชการในตำแหน่งชั้นราชบุรุษนั้น จึงทำให้คณะรัฐประศาสนศาสตร์เสื่อมความนิยมลงจนในที่สุด ปี พุทธศักราช ๒๔๗๒ มีนักเรียนที่กำลังศึกษาในคณะเหลืออยู่เพียง ๓๕ คน ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชานุญาตให้เลิกคณะนี้เสียเมื่อนักเรียนที่เหลืออยู่สำเร็จหมดแล้ว    ตามความเห็นที่กระทรวงธรรมการเสนอ


หลังจากที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถูกยุบเลิกไปได้ก่อให้เกิดปัญหาข้าราชการฝ่ายปกครองและสมุหเทศาภิบาลมาร้องทุกข์เป็นอันมาก อีกทั้งกระทรวงมหาดไทยเองก็เห็นถึง   การสูญเสียประโยชน์หากขาดนักปกครองจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ จึงได้มีการประชุมหารือกันระหว่างผู้แทนกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการดำริรูปการมหาวิทยาลัย และผู้แทน ก.ร.พ.(กรรมการพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน) ขึ้น และมีความเห็นร่วมกันว่า ควรจะมีการสอนวิชานี้ต่อไป แต่จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาใหม่  อีกทั้งปรับปรุงวิธีการรับนิสิตใหม่ด้วย นอกจากนี้  ยังเสนอให้เปลี่ยนชื่อคณะรัฐประศาสนศาสตร์เป็นแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาติ  ตามข้อเสนอของที่ประชุมและกระทรวงมหาดไทย โดยได้ออกประกาศแจ้งความในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๔ คณะรัฐประศาสนศาสตร์จึงแปรสภาพเป็นเพียงแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ เป็นต้นมา


ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้โอนโรงเรียนกฏหมายของกระทรวงยุติธรรมมารวมกับแผนกวิชาข้าราชการพลเรือนแล้วตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ขึ้นในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๗๖  และในปีเดียวกันนั้นเองได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช ๒๔๗๖ อันเป็นพระราชบัญญัติก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น ซึ่งมาตราที่ ๕ แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ได้บัญญัติให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองก่อนวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๗ โดยนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่สามารถเทียบโอนวิชา เพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองได้ ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการไปศึกษาที่ธรรมศาสตร์ก็สามารถรับราชการได้  โดยกระทรวงมหาดไทยจะดำเนินการบรรจุให้เข้ารับราชการต่อไป


ในปี พุทธศักราช ๒๔๙๑ ได้มีการเสนอกฎหมายเพื่อขอจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นหนักการสอนในเรื่อง Administration มุ่งผลิตนักบริหารปกครอง  ซึ่งแตกต่างจากคณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เน้นหนักการสอนเรื่อง Political Science และมุ่งผลิตนักการเมืองเป็นสำคัญซึ่งทางสภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านกฎหมายดังกล่าวและทำให้มีการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นต้นมา


ในช่วงที่เริ่มตั้งคณะรัฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่งนั้น “รัฐประศาสนศาสตร์” เป็นเพียงสาขาวิชาที่สอนอยู่ในแผนกการปกครองเท่านั้น กล่าวคือ ในปี ๒๔๙๑ คณะรัฐศาสตร์มีการสอนเพียง ๒ แผนกวิชา คือ แผนกวิชาการปกครองและแผนกวิชานิติศาสตร์โดยแผนกวิชาการปกครองจะประกอบด้วย ๓ สาขาวิชาคือสาขาวิชาการปกครอง (การบริหารทั่วไป) สาขาการบริหารงานคลังและสาขาต่างประเทศ


รัฐประศาสนศาสตร์ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของแผนกวิชาการปกครองตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๙๑ เรื่อยมา  แม้ว่าในปี ๒๔๙๘ จะมีการขยายแผนกวิชาในคณะรัฐศาสตร์จากเดิม ๒ แผนกวิชาเป็น ๔ แผนกวิชา  โดยเพิ่มแผนกวิชาสังคมวิทยาและยกฐานะของสาขาต่างประเทศ (ในแผนกวิชาการปกครอง) เป็นแผนกวิชาการต่างประเทศและการทูต แต่การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในแผนกวิชาการปกครองต่อไป  จนกระทั่ง  ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล ได้เสนอให้มีการจัดตั้งแผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์ต่อสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่  ๙ เมษายน ๒๕๐๘ และได้มีประกาศของมหาวิทยาลัย    ตั้งแผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๐๙ พร้อมกันนี้ก็ได้ยกฐานะของสาขาวิชาบริหารงานคลังเป็นแผนกวิชาการคลังด้วยเช่นกัน


ต่อมาในปี ๒๕๑๔ แผนกวิชาการคลังได้แยกไปรวมกับแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีเพื่อตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ในวันที่ ๘  สิงหาคม ๒๕๑๓ หลังจากนั้นแผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้น  โดยมีการสอนในแผนกวิชาถึง ๓ ด้านด้วยกันคือ การบริหารทั่วไป การบริหารงานบุคคล  และการบริหารงานคลัง  แผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์  ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนกระทั่งปี พุทธศักราช ๒๕๒๒ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจากแผนกวิชาเป็นภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์


ในปี พุทธศักราช ๒๕๒๖ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) และต่อมาในปี ๒๕๓๐ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะเป็นแกนนำของสถาบันอุดมศึกษาในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม โดยกระจายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักบริหารที่เป็นข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานเอกชนทั่วไปได้มีโอกาสมาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐ  โดยไม่ต้องทำเรื่องขออนุมัติลาศึกษาต่อจากต้นสังกัด และสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน  ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงได้เปิดหลักสูตรปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์สำหรับนักบริหาร (Master of Public Administration for Executives)  ซึ่งดำเนินการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ นับเป็นหลักสูตร “ภาคค่ำ” ทางด้านบริหารงานของรัฐ หลักสูตรแรกที่เปิดสอนในประเทศไทย